หน้าแรก ITA แบบสอบถามความฯ Facebook Admin webmail

วิสัยทัศน์


" หนองตะครองเมืองน่าอยู่ คู่เกษตรอินทรีย์ สุขภาพดีถ้วนหน้า ชาวประชามีสุข ชุมชนเข้มแข็ง ส่งเสริมการศึกษา ใส่ใจคุณภาพชีวิตสิ่งแวดล้อม พร้อมสืบสานงานประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น "

-: ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของ เทศบาลตำบลหนองตะครอง:-

วิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์
 

            เทศบาลตำบลหนองตะครองได้กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) เพื่อเป็นสภาพการณ์ในอุดมคติซึ่งเป็นจุดหมายและปรารถนาคาดหวังที่จะให้เกิดขึ้นหรือบรรลุผลในอนาคตข้างหน้า ซึ่งเทศบาลตำบลหนองตะครองเป็นชุมชนชนบท ประชากรส่วนใหญ่มีวิถีชีวิตแบบพื้นบ้านและอยู่กินอย่างสงบสุข ประกอบอาชีพการเกษตรเป็นหลักโดยใช้แนวทางเกษตรอินทรีย์ จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ ดังนี้
       

   “ หนองตะครองเมืองน่าอยู่    คู่เกษตรอินทรีย์   สุขภาพดีถ้วนหน้า  ชาวประชามีสุข        
         ชุมชนเข้มแข็ง    ส่งเสริมการศึกษา   ใส่ใจคุณภาพชีวิตสิ่งแวดล้อม  พร้อมสืบสานงานประเพณี      วัฒนธรรม   ภูมิปัญญาท้องถิ่น”

 
 

พันธกิจ(MISSION)

๑.  การสร้างระบบบริหารการจัดการที่ดีโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การวางแผนพัฒนา การตรวจสอบรับรู้ข้อมูลข่าวสารเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการบริหารและการปกครอง

  1. ปรับปรุงและพัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้ได้มาตรฐานและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชนเพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชนในอนาคตและเศรษฐกิจของท้องถิ่น

  2. ปรับปรุงพัฒนาและส่งเสริมการศึกษาตลอดจนอนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมอันดีงามและภูมิปัญญาของท้องถิ่น

  3. การสร้างความเข้มแข็งด้านการพัฒนาอาชีพทุกด้านเพื่อให้เศรษฐกิจโดยรวมมีความมั่นคง

  4. การพัฒนาศักยภาพของประชาชนในชุมชนให้เข้มแข็งและสามารถพึ่งพาตนเองได้

  5. บริการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่ดีและยั่งยืนโดยใช้แนวทางเกษตรอินทรีย์

  6. ปรับปรุงและส่งเสริมด้านสาธารณสุขมูลฐานของประชาชนให้อย่างทั่วถึง

  7. จัดระบบป้องกันด้านรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในเทศบาลตำบลหนองตะครอง

  8. จัดให้มีการพัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองท้องถิ่น

๒.๒ ยุทธศาสตร์

          ในการพัฒนาเทศบาลตำบลหนองตะครองได้ใช้ข้อมูลจากสภาพความเป็นจริงของพื้นที่ที่มาจากสภาพปัญหาและความต้องการของประชาชน ประกอบด้วย นำนโยบายของรัฐแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาบูรณาการเป็นแนวทางในการพัฒนาเทศบาลเพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและสามารถปรับตัวได้ในโลกแห่งการแข่งขันยุคโลกาภิวัตน์ซึ่งเทศบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาไว้๕ด้านดังนี้
          ๑. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและด้านโครงสร้างพื้นฐาน
          ๒. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
          ๓. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม   
          ๔. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม    
          ๕. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี   

๒.๓ เป้าประสงค์

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน:   

๑.  ก่อสร้างและปรับปรุงซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐานและเพียงพอ ต่อความต้องการ

ด้านเศรษฐกิจ   :         
๒.  ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืนและลดค่าใช้จ่าย

ด้านพัฒนาคุณภาพ :     
๓.  ยกระดับคุณภาพการศึกษาของประชาชนทุกระดับ อย่างทั่วถึง รวมทั้งชีวิตและสังคมปลูกฝังและส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนสร้างความตระหนักและอนุรักษ์คุณค่าวัฒนธรรม

๔.  ดำเนินการส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี                   
๕.  ดำเนินการเพื่อให้ประชาชนมีการนันทนาการอย่างมีคุณภาพและเพียงพอ
๖.  ดำเนินการเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยดีทั่วหน้า

ด้านสิ่งแวดล้อม :         
๗.  จัดการด้านมลภาวะด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนให้น่าอยู่อย่างยั่งยืน
๘.  บริหารจัดการด้านทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ด้านการบริหารจัดการ:  
๙.  การบริหารจัดการภาครัฐที่ดีแบบบูรณาการบ้านเมืองที่ดี              
๑๐. พัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองท้องถิ่น

๒.๔ ตัวชี้วัด
๑)  จำนวนโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคสาธารณูปการที่ได้รับการพัฒนาให้ได้                  
มาตรฐานมีเพิ่มมากขึ้น
 ๒)  ระดับความสำเร็จในการส่งเสริมและพัฒนาการทำเกษตรอินทรีย์และอินทรีย์ชีวภาพ
๓)จำนวนกลุ่มอาชีพที่ได้รับการเพิ่มพูนทักษะอาชีพด้านต่างๆ
๔)  ระดับความสำเร็จในส่งเสริมการศึกษาตลอดจนอนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมอันดีงามและภูมิปัญญาของท้องถิ่น
๕)  ระดับความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิต         
๖)  ระดับความสำเร็จของการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
๗)  ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพและการบริการด้านสาธารณสุข
๘)ระดับความสำเร็จของการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
๙)  ร้อยละของงานที่บริหารจัดการอย่างมีธรรมาภิบาล

๒.๕ ค่าเป้าหมาย
๑)  การพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่มีความเข้มแข็ง โดยได้รับบริการสาธารณะด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชนและเศรษฐกิจ
๒)  การพัฒนาระบบการศึกษาและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
๓)  ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพคนและความเข้มแข็งของชุมชนในการพึ่งตนเอง
๔)  การกำจัดขยะมูลฝอยสิ่งปฏิกูลและมลภาวะสิ่งแวดล้อมที่มีอย่างยั่งยืน
๕)  การพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐที่ดีและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

๒.๖กลยุทธ์

ยุทธศาสตร์ที่ ๑ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและด้านโครงสร้างพื้นฐาน
๑.๑ก่อสร้างและปรับปรุง บำรุงถนน สะพาน ทางเท้าและระบบระบายน้ำให้เป็นไปด้วยความสะดวก
๑.๒ขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะ
๑.๓การก่อสร้างและขยายเขตน้ำประปาของหมู่บ้านให้มีน้ำประปาใช้ทุกครัวเรือน
๑.๔การบริการสาธารณะ
๑.๕การให้บริการด้านคมนาคม
๑.๖พัฒนาการใช้ที่ดิน
๑.๗   พัฒนาแหล่งเก็บน้ำ

ยุทธศาสตร์ที่  ๒ยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ (การเกษตร) 
๒.๑ส่งเสริมศักยภาพและขีดความสามารถการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรอินทรีย์
๒.๒ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว
๒.๓ส่งเสริมการกระจายรายได้แก่ประชาชน

ยุทธศาสตร์ที่  ๓ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม   
๓.๑การพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรมและวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น
๓.๒การพัฒนาและส่งเสริมการศึกษา
๓.๓ การพัฒนาส่งเสริมสุขภาพและอนามัย
๓.๔ การพัฒนาและส่งเสริมด้านสวัสดิการของชุมชน
๓.๕ การพัฒนาด้านการกีฬาและนันทนาการ
๓.๖ การบริการสาธารณะด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

ยุทธศาสตร์ที่  ๔ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม    
๔.๑สร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๔.๒  การพัฒนาด้านพลังงานและลดภาวะโลกร้อน
๔.๓การบริหารจัดการและรณรงค์การกำจัดขยะมูลฝอย

ยุทธศาสตร์ที่  ๕ ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี   
๕.๑ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรทุกภาคส่วน
๕.๒ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและองค์กรให้มีขีดความสามารถในการพัฒนา 
๕.๓ส่งเสริมระบบการบริการประชาชนตามมาตรฐานสากล (PSO)
๕.๔การพัฒนาและจัดระเบียบของชุมชนและสังคม
๕.๕ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจการของเทศบาลตำบล
๕.๖ปรับปรุงและพัฒนารายได้